รถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา สายบางนา–ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

รถไฟฟ้าสายสีเงิน (บางนา - บางโฉลง - ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ) หรือ โครงการรถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา (Light Rail) สายบางนา-ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เป็นโครงการเส้นทางระบบขนส่งมวลชนรองในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่สอง (M-Map Phase 2) โดยความร่วมมือระหว่าง สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร, บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และจังหวัดสมุทรปราการ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนเข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตามแนวถนนเทพรัตน อันเป็นทางหลวงแผ่นดินที่จะมุ่งหน้าไปยังภาคตะวันออกเส้นทางดังกล่าวปรากฏขึ้นครั้งแรกในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2537 (แผนแม่บท MTMP) ก่อนถูกปรับปรุงให้เป็นแผนแม่บทเพื่อนำไปสู่การดำเนินการจริงใน พ.ศ. 2539 (แผนแม่บท CTMP) โดยถูกกำหนดให้เป็นส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าธนายง ตอน 1 แต่ได้ถูกยกเลิกไปเมื่อครั้งการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง พ.ศ. 2543 (แผนแม่บท URMAP) ต่อมาในการประชุมร่วมกับคณะกรรมการจัดการจราจรทางบก (คจร.) เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 คจร. มีมติให้กรุงเทพมหานครศึกษาแนวทางเพิ่มเติมเพื่อต่อขยายสายทางภายใน พ.ศ. 2552 เพื่อให้โครงข่ายรถไฟฟ้าครอบคลุมและสอดคล้องกับการขยายตัวของเมือง กรุงเทพมหานครจึงได้นำเส้นทางดังกล่าวกลับเข้าสู่การพิจารณา ก่อนลดระยะทางให้สิ้นสุดที่บริเวณแยกศรีเอี่ยม (ทางแยกต่างระดับระหว่างถนนบางนา-ตราด และถนนศรีนครินทร์) และได้ปรับปรุงเส้นทางอีกครั้งให้ต่อขยายไปสิ้นสุดที่บริเวณอาคารผู้โดยสารฝั่งใต้ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิตามแผนแม่บทเดิมในเวลาต่อมาปัจจุบัน กรุงเทพมหานคร ได้ยื่นคำร้องในการโอนถ่ายโครงการให้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. เป็นผู้ดำเนินการต่อคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เนื่องจากเล็งเห็นว่าการรวมโครงการไว้ที่เจ้าของเดียวจะทำให้สามารถควบคุมค่าโดยสารไม่ให้สูงเกินความจำเป็นได้

รถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา สายบางนา–ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ขบวนรถ ยังไม่เปิดเผย
รูปแบบ รถไฟฟ้ารางเบา
แผนการเปิด พ.ศ. 2572
ระบบจ่ายไฟ รางที่สาม
แผนที่เส้นทาง
แผนที่เส้นทาง

คูคต – เคหะฯ
บางนา
ประภามนตรี
เทพรัตน 17
เทพรัตน 25
ลาดพร้าว – สำโรง
ศรีเอี่ยม
เปรมฤทัย
เทพรัตน กม.6
บางแก้ว
กาญจนาภิเษก
วัดสลุด
กิ่งแก้ว
ธนาซิตี้
มหาวิทยาลัยเกริก
สุวรรณภูมิ อาคารใต้
บ้านทับช้าง – ฉะเชิงเทรา
ดอนเมือง – ฉะเชิงเทรา
แผนภาพนี้:
เจ้าของ สำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร
บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
จังหวัดสมุทรปราการ
จำนวนสถานี 14
ระบบ ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร
สถานะ กำลังศึกษา
ความเร็ว 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ลักษณะทางวิ่ง ทางยกระดับ
ที่ตั้ง กรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ
รางกว้าง 1,435 mm (4 ft 8 1⁄2 in) สแตนดาร์ดเกจ
ระยะทาง 24 km (14.91 mi)
ปลายทาง
ศูนย์ซ่อมบำรุง ศูนย์ซ่อมบำรุงธนาซิตี้
จำนวนทางวิ่ง 2
ผู้ดำเนินงาน รอเอกชนร่วมประมูล

แหล่งที่มา

WikiPedia: รถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา สายบางนา–ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ https://www.thairath.co.th/content/1378922 https://www.lrt-bangna-ppp.com/ https://www.prachachat.net/property/news-822812 https://www.naewna.com/local/440698 https://web.archive.org/web/20210904205048/https:/... https://www.thaipbs.or.th/news/content/336971 https://www.google.com/search?as_eq=wikipedia&q=%2... https://www.google.com/search?q=%22%E0%B8%A3%E0%B8... https://www.google.com/search?&q=%22%E0%B8%A3%E0%B... https://www.google.com/search?tbs=bks:1&q=%22%E0%B...